วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555


หัวข้อในการคัดเลือก

หัวข้อที่ 1
ตัวแปรต้น การออกแบบหนังสือนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม เพื่อให้เด็กอนุบาลได้มีหนังสือที่หลากหลาย
ประชากร เด็กปฐมวัยที่ 1-3
พื้นที่ โรงเรียนอนุบาลตราด
เวลา ตั้งแต่ปี 2555 – 2557


หัวข้อที่ 2
ตัวแปรต้น การออกแบบโฆษณารณรงค์แต่งกายถูกระเบียบ
ตัวแปรตาม เพื่อให้นักศึกษาแต่งกายถูกระเบียบ
ประชากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
พื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
เวลา 2555 – 2556



หัวข้อที่ 3
ตัวแปรต้น การออกแบบโฆษณาประเภทโปสเตอร์ หัวข้ออาสาสมัครช่วยเหลือน้องๆในพื้นที่กันดาร
ตัวแปรตาม เพื่อผู้ที่สนใจ ที่มีจิตอาสาไปช่วยเหลือน้องๆ
ประชากร บุคคลทั่วไป และ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
พื้นที่ ภายในมหาลัย และ ข้างหน้ามหาลัย
เวลา ปี 2555 – 2556

หัวข้อที่ 4
ตัวแปรต้น การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อการเรียนการสอนของเด็กประถม
ตัวแปรตาม เพื่อให้นักเรียนได้มีความสนใจในการเรียนมากขึ้นจากตัวการ์ตูน
ประชากร นักเรียนประถมศึกษา ช่วงชั้นที่  1-3
พื้นที่ โรงเรียนวัดหนองจอก
เวลา 2555 -2557



หัวข้อ
ตัวแปรต้น การออกแบบโฆษณาประเภทโปสเตอร์ หัวข้ออาสาสมัครช่วยเหลือน้องๆในพื้นที่กันดาร
ตัวแปรตาม เพื่อผู้ที่สนใจ ที่มีจิตอาสาไปช่วยเหลือน้องๆ
ประชากร บุคคลทั่วไป และ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
พื้นที่ ภายในมหาลัย และ ข้างหน้ามหาลัย
เวลา ปี 2555 – 2556

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ภาพตัวอย่างของ งานออกแบบโฆษณา











การออกแบบโฆษณา
ารโฆษณา หมายถึงรูปแบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการหรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลและต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจโดยหวังผลทางด้านยอดขาย และสามารถระบุผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานโฆษณานั้นได้

ประเภทของการโฆษณา
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
 1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
 1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
 2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
 2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
 2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
 2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
 3.2 ทางวิทยุ
 3.3 ทางนิตยสาร
 3.4 โดยใช้จดหมายตรง
 3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
 (Product Versus Institutional Advertising)
 4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
 (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
 4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
 (Action Versus Awareness Advertising)

การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา
  1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
  2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
     2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
     2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
     2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
  4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
  6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
 1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
 1.2 การลดราคา (Price Off)
 1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
 1.4 การคืนเงิน (Rabates)
 1.5 การให้ของแถม (Premiums)
 1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
 1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
 1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
 1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
 1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
 2.2 ส่วนลด (Discount)
 2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
 2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
 2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
 2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
 3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
 3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
 3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
 3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
  1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
  2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
  3. การให้ข่าว (News)
  4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
  5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
  6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)

ประเภทของการออกแบบ

 การออกแบบแบ่งได้เป็น 10 ประเภท คือ 
         1. การออกแบบสร้างสรรค์ เป็นการออกแบบเพื่อ นำเสนอความงาม ความพึงพอใจ เน้นความคิดสร้างสรรค์ แปลกๆ ใหม่ๆ ให้เกิดความสะเทือนใจ เร้าใจ ซึ่งการสร้างสรรค์นี้อาจเป็นการพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือสร้างขึ้นใหม่ก็ได้ 
  • งานออกแบบสร้างสรรค์นี้มี 5 ลักษณะ คือ 
  •                  งานออกแบบจิตรกรรม (Painting)คืองานศิลปะ ด้านการวาดเส้น ระบายสี เพื่อแสดงอารมณ์ และความรู้สึก ในลักษณะ สองมิติ จำเป็นต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์ ในผลงานแต่ละชิ้นของผู้สร้าง 
  •                  งานออกแบบประติมากรรม (Sculpture)คืองานศิลปะด้าน การปั้น แกะสลัก เชื่อมต่อในลักษณะสามมิติ คือมีทั้งความกว้าง ยาว และหนา 
  •                  งานออกแบบภาพพิมพ์ (Printmaking) คืองานศิลปะที่ใช้กระบวนการพิมพ์มาสร้างสรรค์รูปแบบด้วยเทคนิคการพิมพ์ต่างๆ เช่น ภาพพิมพ์ไม้ โลหะ หิน และอื่นๆ                  งานออกแบบสื่อประสม (Mixed Media) คืองานศิลปะที่ใช้วัสดุหลากหลายชนิด เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ พลาสติก เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆ นำมาสร้าง ความผสาน กลมกลืน ให้เกิดผลงานที่แตกต่างอย่างกว้างขวาง         
  •                 งานออกแบบภาพถ่าย (Photography) ยุคนี้เป็นยุคที่การถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับผู้ที่สร้างสรรค์งานถ่ายภาพ เเพราะเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการลงทุนสร้างสรรค์ที่ไม่แพงมาก การถ่ายภาพอาจเป็นภาพ คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติทั่วๆไป โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ เนื้อหาที่แปลกใหม่ เพื่อสนองความต้องการของผู้ถ่ายภาพ
        2. การออกแบบสัญลักษณ์และเครื่องหมาย (Symbol & Sign) เป็นการออกแบบเพื่อสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ ทำความเข้าใจกับผู้พบเห็น โดยไม่จำเป็น ต้องมีภาษากำกับ เช่น ไฟแดง เหลือง เขียว ตามสี่แยก หรือเครื่องหมายจราจรอื่นๆ 
เครื่องหมาย (Symbol) คือสื่อความหมายที่แสดงความนัยเพื่อเป็นการชี้ เตือน หรือกำหนดให้สมาชิกในสังคม รู้ถึง ข้อกำหนด อันตราย เช่น 
  •                 เครื่องหมายจราจร
  •                 เครื่องหมายสถานที่
  •                 เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องกล
  •                 เครื่องหมายที่ใช้กับเครื่องไฟฟ้า
  •                 เครื่องหมายตามลักษณะสิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ
สัญลักษณ์ คือสื่อความหมายที่แสดงความนัย เพื่อบอกให้ทราบถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลในทางปฏิบัติเหมือน เครื่องหมาย แต่มีผลทางด้านการรับรู้ ความคิด หรือทัศนคติ ที่พึงมีต่อสัญลักษณ์นั้นๆ เช่น
  •                 สัญลักษณ์ของชาติ เช่น ธงชาติ ฯลฯ 
  •                 สัญลักษณ์ขององค์กรต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา กระทรวง สมาคม พรรคการเมือง ฯลฯ 
  •                 สัญลักษณ์ของบริษัทห้างร้านทางธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ
  •                 สัญลักษณ์ของสินค้างและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตจำหน่าย ตามท้องตลาด ฯลฯ
  •                 สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในสังคม เช่น การกีฬา การร่วมมือในสังคม การทำงาน ฯลฯ
        3. การออกแบบโครงสร้าง 
เป็นการออกแบบเพื่อใช้เป็นโครงยึดเหนี่ยว ให้อาคาร สิ่งก่อสร้างสามารถทรงตัว และรับน้ำหนัก อยู่ได้ อาจเรียกว่า การออกแบบสถาปัตยกรรม คือการออกแบบสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ออก แบบอาคาร เช่น การออกแบบ ที่พัก อาศัย ออกแบบเขื่อน ออกแบบสะพาน ออก แบบอาราม , โบสถ์ อื่น ๆ ที่คงทนและถาวร นักออกแบบเรียกว่า สถาปนิก ผู้ให้ ความสำคัญกับงานด้านนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการออกแบบโครงสร้างยังเป็น ส่วนหนึ่งของ งานประติมากรรม ที่เน้นคุณภาพของการออกแบบสามมิติ และยังหมายถึงการออกแบบเครื่องเรือน ฉากและเวที อีกด้วย
         4. การออกแบบหุ่นจำลอง
เป็นการออกแบบเพื่อเป็นแบบสำหรับย่อ ขยาย ผลงานตัวจริง หรือเพื่อศึกษารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ เช่น                
  •                 หุ่นจำลองบ้าน
  •                 หุ่นจำลองผังเมือง 
  •                 หุ่นจำลองเครื่องจักรกล 
  •                 หุ่นจำลองทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ 
หุ่นจำลองเหล่านี้อาจจะสร้างจากงานออกแบบ หรือสร้างเลียนแบบจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพื่อศึกษารายละเอียด หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจำแนกได้ ดังนี้ 
  •                 หุ่นจำลองเพื่อขยาย หรือย่อแบบ เช่น อาคาร อนุสาวรีย์  เหรียญ ฯลฯ
  •                 หุ่นจำลองย่อส่วนจากสิ่งแวดล้อม เช่น ลูกโลก ภูมิประเทศ ฯลฯ 
  •                 หุ่นจำลองเพื่อศึกษารายละเอียด เช่น หุ่นจำลองภายในร่างกายคน เครื่องจักรกล ฯลฯ
         5. การออกแบบสิ่งพิมพ์
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ 
  •                หนังสือ 
  •                ปกหนังสือ 
  •                ปกรายงาน 
  •                หนังสือพิมพ์ 
  •                โปสเตอร์ 
  •                นามบัตร 
  •                การ์ดอวยพร 
  •                หัวกระดาษจดหมาย 
  •                แผ่นพับ 
  •                แผ่นปลิว 
  •                ลายผ้า 
               สัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายหน่วยงาน ฯลฯ
         6. การออกแบบผลิตภัณฑ์
เป็นการออกแบบเพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้ซื้อ ผู้บริโภคในวงกว้าง คือการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง มีขอบเขตกว้างขวางมากด และแบ่งออกได้มากมาย หลายลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบ ประเภทนี้ได้แก่ 
  •                 งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ 
  •                 งานออกแบบครุภัณฑ์ 
  •                 งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ 
  •                 งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ 
  •                 งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี 
  •                 งานออกแบบเครื่องแต่งกาย 
  •                 งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ 
  •                 งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
         7. การออกแบบโฆษณา
เป็นการออกแบบเพื่อชี้แนะและชักชวน ทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และความคิด จากความคิดของคน คนหนึ่ง ไปยังกลุ่มชนโดยส่วนรวม ซึ่งการโฆษณาเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชน และธุรกิจ เพราะจะช่วยกระตุ้น หรือผลักดันอย่างหนึ่งในสังคม เเพื่อให้ประชาชนเกิดความต้องการ และเปรียบเทียบ สิ่งที่โฆษณาแต่ละอย่าง เพื่อเลือซื้อ เลือกใช้บริการ หรือเลือกแนวคิด นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเรา
การโฆษณาผลิตภัณฑ์ เช่น โฆษณาขายอาหาร ขายสิ่งก่อสร้าง ขายเครื่องไฟฟ้า ขายผลิตผลทาง เกษตรกรรม
การโฆษณาบริการ เช่น โฆษณาบริการท่องเที่ยว บริการซ่อมเครื่องจักรกล บริการหางานทำ บริการของ สายการบิน
การโฆษณาความคิด เช่น โฆษณาความคิดเห็นทางวิชาการ ข้อเขียน ข้อคิดเห็นในสังคม ความดีงามในสังคม
นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาชวนเชื่อที่เสนอความคิดเห็น เกลี้ยกล่อม สร้างอิทธิพลทางความคิด หรือทัศนคติ เช่น การโฆษณาทางศาสนา โฆษณาให้รักษากฎจราจร โฆษณาให้รักชาติ
การโฆษณาเหล่านี้มี สื่อที่จะใช้กระจายสู่ประชาชน ได้แก่ 
  •                 สื่อกระจายเสียงและภาพ เช่น วิทยุ ทีวี โรงภาพยนตร์
  •                 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร 
  •                 สื่อบุคคล เช่นการแจกสินค้าส่งคนไปขาย ส่งสินค้าไปตามบ้าน
         8. การออกแบบพาณิชยศิลป์
ป็นการออกแบบเพื่อใช้ฝีมือ แสดงความงามที่ใช้ในการตกแต่ง อาจจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นความสวยงาม ความน่ารัก ซึ่งเป็นความสวยงามที่มีลักษณะเร้าใจต่อผู้พบเห็นในทันทีทันใด และแสดงความสวยงามหรือศิลปะเด้นกว่าประโยชน์ใช้สอย เช่นการออกแบบที่ใส่ซองจดหมาย แทนที่จะมีเพียงที่ใส่ และที่แขวน ซึ่งเป็นหน้าที่หลัก ก็อาจจะออกแบบเป็นรูปนกฮูก หรือรูปสัตว์ต่างๆ แสดงสีสรรและ การออกแบบ ที่แปลกใหม่ เร้าใจ เป็นต้น ลักษณะของการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ยังมุ่งออกแบบในลักษณะของแฟชั่น ที่มีกา รเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสมัยนิยม
         9. การออกแบบศิลปะประดิษฐ์เป็นการออกแบบที่แสดงความวิจิตรบรรจง มีความสวยงาม เพื่อให้เกิดความสุขสบาย รื่นรมย์ มากกว่าการ แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดอื่นใด ความวิจิตรบรรจงในที่นี้หมายถึง การตกแต่งสร้างสรรค์ลวดลาย หรือรูปแบบ ด้วยความพยายาม เป็นงานฝีมือที่ละเอียด ประณีต เช่น
  •                 การจัดผักซึ่งเป็นเครื่องจิ้มอาหารคาวของไทย แทนที่จะจัดพริก มะเขือ แตงกวา ต้นหอม ลงในจานเท่านั้น แม่ครัวระดับฝีมือบางคนจะประดิษฐ์ตกแต่งพืช ผัก เหล่านั้นอย่างสวยงามมาก เช่น ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ รูปสัตว์ หรือลวดลายต่างๆ งานศิลปะประดิษฐ์มีหลายประเภท เช่น
  •                 งานแกะสลักของอ่อน เช่นผัก ผลไม้ สบู่ เทียน 
  •                 งานจัดดอกไม้ใบตอง เช่น ร้อยมาลัย จัดพวงระย้าดอกไม้ โคมดอกไม้ 
  •                 งานเย็บปักถักร้อยตกแต่ง เช่น ปักลวดลายต่างๆ ถักโครเชท์
  •                 เครื่องตกแต่งร่างกาย เช่น แหวน กำไล ต่างหู เข็มกลัด
  •                 งานกระดาษ เช่น ฉลุกระดาษ ประดิษฐ์กระดาาเป็นดอกไม้
  •                 งานประดิษฐ์เศษวัสดุ เช่น ใบไม้ เปลือกหอย ดอกหญ้า หลอดกาแฟ
  •                 งานแกะสลักของแข็ง เช่น แกะสลักหน้าบัน คันทวย บานประตู โลหะ
         10. การออกแบบตกแต่งเป็นการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบเพื่อ เสริมแต่งความงาม ให้กับอาคารบ้านเรือน และบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดความสวยงามน่าอยู่อาศัย การออกแบบตกแต่งในที่นี้ หมายถึงการออกแบบตกแต่งภายนอก และการออกแบบตกแต่งภายใน
  •                 การออกแบบตกแต่งภายใน หมายถึง การออกแบบตกแต่างที่เสริมและจัดสภาพภายในอาคาร ให้สวยงาม น่าอยู่อาศัย ซึ่งหมายรวมถึง ภายในอาคารบ้านเรือน ที่ทำงาน ร้านค้า โรงเรียน 
  •                 การออกแบบตกแต่างภายนอก เป็นการออกแบบตกแต่งนอกอาคารบ้านเรือน ภายในรั้ว ที่สัมพันธ์กับตัวอาคาร เช่น  สนาม ทางเดิน เรือนต้นไม้ บริเวณพักผ่อน และส่วนอื่นๆ บริเวณบ้า

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ค่าน้ำหนัก(Value)


ค่าน้ำหนัก    คือ   ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้ม
ของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู   หรือ
  สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน  เป็นต้น
นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) 
น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด    
การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆ  ระดับ
จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมาก
จะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง




   แสงและเงา (Light & Shade) 

    เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน
   แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา   แสงและเงา  
  เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่
   กับความเข้มของเแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น   
   และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง
  จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนัก
   ของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ     สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ 
  ต่าง ๆ ได้ดังนี้

      1. บริเวณแสงสว่างจัด  (Hi-light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด   จะมี 
  ความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด 
      2. บริเวณแสงสว่าง  (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง 
  จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ 
      3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง     หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก 
  แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง 
      4. บริเวณเงานเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ 
  เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด 
      5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ 
  ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น 
  หลัง ทิศทางและระยะของเงา



    ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
    1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง 
    2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว 
    3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง 
    4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ 
    5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ 













เทคนิคการแรเงา


         การแรเงาน้ำหนัก เป็นการวาดเขียนภาพเหมือนจริง ควรเริ่มฝึกการแรเงาภาพ  เพื่อฝึกการเขียนภาพแสดงออกถึงทักษะ ความละเอียดลออในการวาดภาพ การแรเงาสามารถทำให้ภาพดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนาบางเกิดขึ้น 


          การเขียนภาพแสงเงา ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสงที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะใกล้-ไกล ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
ในบทความนี้นำเสนอวิธีการแรเงา เป็นพื้นฐานการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้

เทคนิคการแรเงา

1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูปทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น

2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้

3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีกเท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนั้นก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้นไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย

4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการ จะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากนั้นเกลี่ยน้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน

5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนักแผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์

6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสง ประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้น ในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ คือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่างตัววัตถุสาเหตุมาจากแสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง

การแรเงาให้เกิดมิติใกล้-ไกล

      ความอ่อน- แก่ของน้ำหนัก นอกจากจะใช้เพื่อสร้างมิติให้เกิดความรู้สึก สูง ต่ำ หนา บาง แก่ วัตถุในภาพแล้ว น้ำหนักยังใช้สร้างมิติให้เกิดความรู้สึกใกล้-ไกลของวัตถุในภาพอีกด้วย

      ค่าน้ำหนักถ้าใช้ในการสร้างความรู้สึกด้านมิติแก่วัตถุ ค่าน้ำหนักแก่จะให้ความรู้สึกต่ำหรือลึกลงไป ค่าน้ำหนักที่อ่อนจะให้ความรู้สึกที่สูงหรือนูนขึ้นมา

      การสร้างความรู้สึกด้านระยะใกล้-ไกล ระยะใกล้จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนกว่าระยะไกล ระยะกลางก็ใช้ค่าน้ำหนักที่อ่อนลง และระยะไกลก็จะแรเงาให้อ่อนที่สุด หรือเน้นรายละเอียด หรือเส้นให้น้อยกว่าระยะกลางและใกล้





หลักการวาดภาพ


การวาดภาพ : หลักการวาดเขียนเบื้องต้น

การวาดภาพ (Drawing) หลักการวาดเขียนเบื้องต้น

      ผู้ที่เริ่มฝึกหัดวาดเขียนใหม่ๆ มักมีปัญหาว่าจะเขียนอะไรก่อนและเขียนอย่างไร ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เป็นแบบในการวาดเขียนนั้นมีหลายประเภทและมีส่วนของราย ละเอียดต่างๆมากมาย จนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สิ่งที่มองเห็นไม่ว่าจะเป็นรูปทรง แสง เงา และพื้นผิว ชนิดต่างๆ ก่อให้เกิดความซับซ้อนจนผู้ที่ฝึกวาดเขียน มองเห็นว่ายากเกินไปที่จะจับลักษณะสำคัญได้
เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน เราไม่สามารถเริ่มต้นด้วยการมุงหลังคา ติดประตูหน้าต่างหรือเดินสายไฟก่อน แต่จะเริ่มต้นด้วยการตั้งเสาและคาน ซึ่งเป็นโครง สร้างทั้งหมดของบ้านเสียก่อน เมื่อโครงสร้างถูกต้อง มั่นคงแข็งแรงดีแล้ว จึงไล่ลำดับไปสู่การมุงหลังคา ทำฝาผนัง ทำพื้น ตกแต่งภายใน กับการเขียนภาพก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนภาพจะต้องพิจารณาหุ่นต้นแบบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วจะค้นพบและเข้าใจโครงสร้างของหุ่นต้นแบบจากนั้นก็จะกลาย เป็นเรื่อง ง่ายเพราะลำดับวิธีการที่ถูกต้องนั่นเอง

วาดเส้น (Drawing)

       การวาดเส้นมีวิธีการและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากโดยใช้เส้นต่างๆ แสดงถึงลักษณะการเคลื่อนไหวของเส้น น้ำหนักของเส้น และความมั่นใจในการวาดเส้น สิ่งที่ี่ผู้ฝึกควรฝึกด้วยตัวเองในขั้นแรกให้เขียนเส้นตรง เส้นตั้ง และเส้นเอียง เส้นเฉียงซ้ำๆ กัน ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้เส้น-ผสานกับมือและสายตา โดยให้สังเกตจากแสงเงาเป็นตัวกำหนดน้ำหนัก

เคล็ดไม่ลับ
     “ การเลือกมุมที่จะเขียนก็นับว่าเป็นส่วนส่งเสริมกำลังใจให้มุ่งมั่นในการวาดเขียนได้อย่างดี หากเลือกมุมที่เขียนยาก สังเกตน้ำหนัก แสง เงา หรือรูปทรง ไม่ชัดเจน ถ่ายทอดด้วยการวาดเขียนลำบาก อาจทำให้กำลังใจท้อถอยได้ง่ายในทางตรงกันข้ามถ้าเลือกมุมที่สังเกต เห็นความงามของหุ่นต้นแบบทุกด้าน อย่างชัดเจนและสามารถถ่ายทอดออกมาได้ดั่งใจ ตามระดับฝีมือของผู้เขียนก็จะทำให้มีกำลังใจมีความอยากเขียนวาดภาพได้อย่างต่อเนื่องและสนุกกับการวาด ”
**ข้อสังเกต**
การเลือกมุมมองเพื่อวาดเขียนอย่างง่ายๆ โดยทั่วไปคือ ควรเลือกมุมที่สามารถมองเห็นแสงมองเห็นน้ำหนักอ่อน แก่ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนบนหุ่นต้นแบบได้ชัดเจนทุกจุด

ลักษณะของเส้น (CHARACTERISTICS OF LINE) 

    ลักษณะของเส้นก็คือคุณค่าทางกายภาพของเส้นนั่นเอง ขนาดและทิศทางของเส้นจะมีลักษณะของความหมาย เช่นเดียวกับลักษณะนั้นๆ เช่น

ลักษณะที่ 1 เส้นดิ่ง และ เส้นตั้ง แสดงถึงความมั่นคงแข็งแรง,สง่า สงบ,คงอยู่ตลอดไป,มั่นคงถาวร,ไม่เคลื่อนไหว นิยมใช้สำหรับการเขียนภาพอาคาร อย่างเช่น สร้างรูปแบบของธนาคารที่มีเส้นตรงๆ ให้ความรู้สึกถึงความมั่นคงแข็งแรง ไม่ล้มง่าย หมายถึงความรู้สึกของผู้ที่เข้าไปฝากธนาคารด้วย อย่างนี้เป็นต้นลักษณะที่ 2 เส้นขนาน และ เส้นนอน แสดงถึงความรู้สึกไม่สิ้นสุดไปได้เรื่อยๆ ความสงบ,ความราบรื่น ความเรียบง่าย ลักษณะที่ 3 เส้นเฉียง แสดงถึงความรู้สึกไม่มั่นคง,อันตราย,กำลังจะล้มแล้ว,โอนเอน,โอนอ่อนผ่อนตาม
ความไม่สมดุล
ลักษณะที่ 4 เส้นหยัก โดยใช้เส้นเฉียงมาต่อกันในลักษณะคล้ายๆ กับฟันปลา แสดงถึงความแหลมคม บาดเจ็บ,อันตราย,การทำลาย,การเคลื่อนไหวที่มีพลังอย่างต่อเนื่อง การขึ้นๆ ลงๆ ของดัชนีอย่างตลาดหุ้น ซึ่งมีเป็นเส้นพารากราฟขึ้นมาลักษณะที่ 5 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนน้อม,นุ่มนวลลักษณะที่ 6 เส้นขยุกขยิก แสดงถึงความสับสน,ยุ่งเหยิง,วุ่นวาย,ตื่นเต้นนอกจากลักษณะของเส้นแล้วยังมีทิศทางของเส้น ได้แก่แนวราบ แนวเฉียง แนวลึก แนวดิ่ง จากทิศทางก็เป็นขนาด ขนาดของเส้นนั้นไม่มีความกว้างมีแต่ความหนา ความบาง เส้นใหญ่หรือเส้นเล็ก ความหนาของเส้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความยาวเป็นหลัก เพราะเส้นที่สั้นมากจะมีความหนาดูคล้ายกับเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งจะหมดคุณสมบัติของเส้นจะกลายเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หน้าที่ของเส้น เส้นมีหน้าที่ที่พอจะจำกัดความได้ดังนี้
1.ใช้เป็นสำหรับการแบ่งพื้นที่ หรือที่ว่างให้แยกออกจากกัน
2.ใช้เป็นส่วนจำกัดพื้นที่ของรูปทรง
3.ใช้สร้างลักษณะต่างๆ ที่ศิลปินต้องการสร้างขึ้นมา เช่น สร้างเส้นตรง เส้นโค้งคด เส้นหยักฟันปลาหรือ
เส้นวงเป็นก้นหอย
4.ใช้สร้างความเป็น 2 มิติ และ 3 มิติให้แก่รูปทรง ให้เป็นรูประยะตื้น ลึก หนา บาง
5.ใช้แสดงแกนของสิ่งทั้งหลาย
6.ใช้สร้างให้เกิดทิศทางและการเคลื่อนไหว
7.ใช้สร้างให้เกิดแสงและเงา ด้วยการประสานเส้นโดยเส้นที่ถี่ และเส้นที่ห่าง
8.ใช้พัฒนาเทคนิคในการใช้เส้นของตัวเองที่ถ่ายทอดเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกที่อยากจะถ่ายทอด
ออกมาให้ได้ตรงที่สุด

ค่าของแสงและเงา แบ่งได้เป็น 6 ค่าระดับ

1.แสงสว่างที่สุด (HIGH LIGHT) เป็นส่วนของวัตถุที่กระทบแสงโดยตรง จึงจะทำให้บริเวณนั้นสว่างมากที่สุด
2.แสงสว่าง (LIGHT) เป็นส่วนของวัตถุที่ไม่ได้ปะทะกับแสงที่ส่องมาโดยตรง แต่อยู่ในอิทธิพลของแสงนั้นด้วย
3.เงา (SHADOW) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
4.เงามืด (CORE OF SHADOW) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
5.แสงสะท้อน (REFLECTED LIGHT) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของแสง จากวัตถุใกล้เคียง
6.เงาตกทอด (CAST SHADOW) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้นตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน

แสง – เงา

แสง-เงา = ความสว่างและความมืด มีผลต่อความรู้สึกและการรับรู้อิทธิพลของแสง เป็นสิ่งสำคัญในการที่ต้องศึกษา ทั้งในด้านความงามในธรรมชาติบนวัตถุ สามารถทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก

ลำดับขั้นตอนในการร่างภาพ
1. สังเกตลักษณะของหุ่น
2. ร่างภาพโครงสร้างสัดส่วนให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ
วิธีการร่างภาพโครงสร้าง-สัดส่วนมีวิธีการดังนี้ 
2.1 ให้ลากเส้นตรงในแนวดิ่งหนึ่งเส้น
2.2 จากนั้นกำหนดส่วนสูงที่สุดของหุ่นและส่วนที่ต่ำที่สุดของหุ่นโดยการลากเส้นในแนวนอนให้ตั้งฉากกับเส้นดิ่ง
2.3 กำหนดความกว้างของหุ่นโดยประมาณ แล้วกำหนดสัดส่วนให้เท่ากัน
2.4 เมื่อกำหนดโครงสร้างรวมของหุ่นแล้ว จากนั้นให้เขียนเส้นโค้ง เส้นเว้า เพื่อให้โครงสร้างใกล้เคียงหุ่นมากที่สุด
3. ลงน้ำหนักรวมๆของหุ่น
4 .แรน้ำหนักพร้อมทั้งเก็บรายละเอียด

ภาพคนเหมือน ( Portrait ) และหุ่นปูน
      การวาดภาพคนเหมือนนั้นคือการวาดตั้งแต่บริเวณส่วนศีรษะจนถึงเอวเป็นการที่ผู้เริ่มต้นควรฝึกวาดให้เกิดความชำนาญเพราะใบหน้าเป็นส่วนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เช่น ตา หู จมูก ปาก ดังนั้นผู้เริ่มต้นควรฝึกฝนให้เข้าใจการวาดภาพคนเหมือนนั้นแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมด 3ส่วนครึ่ง
ส่วนที่ 1 จากปลายคางถึงปลายจมูก
ส่วนที่ 2 จากปลายจมูกถึงคิ้ว
ส่วนที่ 3 จากคิ้วถึงโคนผม
ส่วนที่ 3 1/2จากโคนผมจนถึงส่วนบนของศีรษะ
ก่อนจะฝึกวาดภาพคนเหมือนนั้นควรฝึกวาดหุ่นปูนเสียก่อนซึ่งสามารถใช้เป็น
พื้นฐานในการวาดภาพคนเหมือน เช่น หุ่นเหลี่ยม หุ่นวีนัส หุ่นเดวิดฯลฯ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจในการวาดภาพคนเหมือนได้ง่ายยิ่งขึ้นและเพื่อพัฒนาไปสู่การวาดภาพคนเหมือนเต็มตัว( Figure )

การวาดภาพคนเหมือนควรแบ่งสัดส่วนให้ถูกต้องชัดเจนเพราะสัดส่วนบนใบหน้าของคนนั้น หากเราเขียนด้วยความไม่เข้าใจถึงจะวาดออกมาสวยแต่ สัดส่วน ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ภาพนั้นดูผิดเพี้ยนไป ดังนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องสัดส่วนเป็นสำคัญแต่ถ้าฝึกฝนจนชำนาญผู้วาดไม่ต้องกำหนดสัดส่วนตามกฏเกณฑ์ก็ได้อาจจะ กำหนดสัดส่วนขึ้นมาเองโดยที่ไม่ต้องลากเส้นแบ่งสัดส่วนแต่ใช้การกะหาระยะด้วยสายตาเอา ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและความชำนาญของแต่ละคน



ภาพคนเต็มตัว ( Figure ) 

   การวาดภาพภาพคนเต็มตัวนั้นคือการวาดคนตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า เพื่อศึกษาระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก สัดส่วน สรีระร่างกายและท่าทางการเคลื่อนไหวการวาดคนเต็มตัว ( Figure ) มีการแบ่งสัดส่วนออกเป็นทั้งหมดของร่างกายโดยมาตรฐาน 7ส่วนครึ่ง

ส่วนที่ 1 จากศีรษะบนสุด จนถึง ปลายคาง
ส่วนที่ 2 จากปลายคาง จนถึง กลางหน้าอก
ส่วนที่ 3 จากกลางหน้าอก จนถึง สะดือ
ส่วนที่ 4 จากสะดือ จนถึง โคนขา
ส่วนที่ 5 จากโคนขา จนถึง กึ่งกลางขาอ่อน
ส่วนที่ 6 จากกึ่งกลางขาอ่อน จนถึง น่อง
ส่วนที่ 7 จากน่อง จนถึง ข้อเท้า
ส่วนที่ 7 1/2 จากข้อเท้า จนถึง ส้นเท้า

การที่จะวาดภาพคนเต็มตัวได้ดีนั้นควรจะต้องศึกษากายวิภาค (Anatomy) ควบคู่ไปด้วย การศึกษาวิชากายวิภาคจะเป็นการเรียนรู้เรื่องของสัดส่วนเริ่มจากสัดส่วนของกระโหลก กระดูก โครงสร้างของร่างกายทั้งหมดแล้วค่อยๆศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อที่ผูกยึดติดกับกระดูกนั้นๆหลังจากนั้นก็วาดภาพที่มีผิวหนังห่อหุ้มอยู่เป็นขั้นตอน การเรียนรู้ของกายวิภาคซึ่งจะต้องเรียนรู้ทั้งหมดตั้งแต่ ชาย หญิง วัยรุ่น เด็ก และคนชรา หากเราจะเขียนภาพคนเต็มตัว (Figure) ให้ชำนาญถูกต้อง ให้เริ่มโดยการศึกษาเรื่องของโครงกระดูกทั้งร่างกายพยายามจำรายละเอียดลักษณะของกระดูกแต่ละส่วนให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะศึกษาเรื่องของกล้ามเนื้อที่มายึดติดกับกระดูก